ทำพาสปอร์ต (passport) เรื่องง่ายๆ ที่คนเที่ยวต้องรู้

จะไปต่างประเทศทั้งทีมันก็ต้องมีพาสปอร์ตใช่มั้ยล่ะ ก็เพราะว่าพาสปอร์ตก็คือหนังสือเดินทางที่จะทำให้เราไปเที่ยวต่างประเทศได้นั่นเอง สำหรับมือใหม่หัดเดินทางก็อาจจะยังงงๆ อยู่ เพราะฉะนั้นเรามาทำความรู้จักกับการทำพาสปอร์ตกันดีกว่า จะได้เที่ยวได้สะดวก

พาสปอร์ต คืออะไร?

พาสปอร์ต ก็คือหนังสือเดินทางไทย ที่ออกให้คนไทย ซึ่งจะออกหนังสือเดินทางจากกระทรวงการต่างประเทศ โดยมีหน่วยงานในสังกัดที่ออกหนังสือให้ได้ เช่น กองหนังสือเดินทาง กระทรวงการต่างประเทศ บางกรณีอาจจะออกได้ที่ สถานเอกอัครราชทูตในต่างประเทศ หรือสถานกงสุลไทย

พาสปอร์ต หน้าตาเป็นยังไง?

เป็นหนังสือเดินทางเล่มเล็กๆ ขนาดกว้าง 8.5 เซนติเมตร ยาว 12.5 เซนติเมตรมีจำนวนหน้าทั้งหมด 50 หน้า

พูดถึงพาสปอร์ตของไทยนะ ถ้าเป็นคนที่ไปเที่ยวโดยทั่วไป มันก็จะมีปกเป็นสีแดงเลือดหมู มีตราครุฑอยู่ตรงกลาง มีตัวอักษรสีทอง มีข้อความและสัญลักษณ์ต่างๆ ของหนังสือเดินทางที่ทางการกำหนดให้ หน้าตาประมาณนี้

ข้างในหนังสือเดินทางมีอะไร?

ก็จะมีข้อมูลจำเพาะของผู้ถือหนังสือเดินทางแต่ละคน ซึ่งก็ประกอบด้วยข้อมูล 2 ภาษา เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ รายละเอียดตามนี้

  • รหัส (Type) ‘P’ อักษรย่อสำหรับคำว่า “Passport”
  • ประเทศ (Country code) “THA” สำหรับประเทศไทย
  • หนังสือเดินทางเลขที่ (Passport No.) มีรูปแบบเป็น A123456 (ตัวอักษรหนึ่งตัวตามด้วยตัวเลขหกหลัก)
  • นามสกุล (Surname) เป็นภาษาอังกฤษ
  • คำนำหน้าชื่อ ชื่อ (Title Name) เป็นภาษาอังกฤษ
  • ชื่อภาษาไทย (Name in Thai) ประกอบด้วยคำนำหน้า ชื่อ และนามสกุลเป็นภาษาไทย
  • สัญชาติ (Nationality) “THAI” สำหรับประชาชนไทย
  • วันเกิด (Date of birth) ในรูปแบบ DD-MMM-YYYY (วัน เดือน ปีค.ศ.) เช่น 20 NOV 2006
  • เลขประจำตัวประชาชน (Personal No.)
  • เพศ (Sex) “M” สำหรับบุรุษ หรือ “F” สำหรับสตรี
  • ส่วนสูง (Height) หน่วยเป็นเมตร
  • สถานที่เกิด (Place of birth) โดยทั่วไปจะเป็นจังหวัดที่เกิด
  • วันที่ออก (Date of issue) ในรูปแบบเดียวกับวันเกิด
  • วันที่หมดอายุ (Date of expiry) ในรูปแบบเดียวกับวันเกิด โดยจะหมดอายุในอีก 5 ปีให้หลัง
  • ออกให้โดย (Authority) โดยทั่วไปจะเป็น “MINISTRY OF FOREIGN AFFAIR”
  • ลายมือชื่อผู้ถือหนังสือเดินทาง (Signature of bearer)

จะทำพาสปอร์ตแบบไหนดี?

รู้มั้ยว่าพาสปอร์ตไม่ได้มีแค่แบบเดียว เพราะฉะนั้นก่อนจะทำพาสปอร์ต เรามาทำความรู้จักกับหนังสือเดินทางของแต่ละประเภทกันก่อนดีกว่า ซึ่งของไทยเราก็จะมีอยู่ 4 ประเภท ดังนี้

1. หนังสือเดินทางธรรมดา (หน้าปกสีแดงเลือดหมู) ออกให้สำหรับประชาชนทั่วไป หนังสือเดินทางมีอายุไม่เกิน 5 ปี

2. หนังสือเดินทางราชการ (หน้าปกสีน้ำเงินเข้ม) สำหรับใช้ในราชการ หนังสือเดินทางมีอายุไม่เกิน 5 ปี ผู้ถือต้องใช้ในราชการเท่านั้น ไม่สามารถนำไปใช้ในการเดินทางส่วนตัว โดยมีข้อกำหนดออกเฉพาะข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่จัดตั้งตามรัฐธรรมนูญ สมาชิกรัฐสภาซึ่งเดินทางไปราชการในต่างประเทศ และบุคคลอื่นใดที่เดินทางเพื่อทำประโยชน์แก่ทางราชการตามที่กระทรวงการต่างประเทศอนุมัติ

3. หนังสือเดินทางทูต (หน้าปกสีแดงสด) หนังสือเดินทางที่เฉพาะเจาะจงผู้เดินทางเข้าไปอีก ประเภทนี้จะมีอายุไม่เกิน 5 ปี ไม่สามารถต่ออายุเพิ่มได้ มีข้อกำหนดออกให้เฉพาะบุคคลดังต่อไปนี้

  1. พระบรมวงศ์และพระนัดดาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
  2. พระอนุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้าและคู่สมรส
  3. พระราชวงศ์และบุคคลสำคัญที่ราชเลขาธิการขอไปเป็นกรณีพิเศษ
  4. ประธานองคมนตรี และองคมนตรี
  5. นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี
  6. ประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานและรองประธานวุฒิสภา
  7. ประธานศาลฎีกา รองประธานศาลฎีกา และประธานศาลอุทธรณ์
  8. ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และประธานศาลปกครองสูงสุด
  9. อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ
  10. ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และ ผู้บัญชาการเหล่าทัพ
  11. ข้าราชการที่มีตำแหน่งทางการทูต ซึ่งเดินทางไปราชการในต่างประเทศ
  12. ข้าราชการที่มีตำแหน่งทางการทูต ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ประจำอยู่ ณ ส่วนราชการในต่างประเทศ คู่สมรส และบุตรในประเทศที่ประจำอยู่หรือทำการศึกษาอยู่ในประเทศอื่น แต่บุตรจะต้องอายุไม่เกิน 25 ปี
  13. คู่สมรสที่ร่วมเดินทางไปกับบุคคลดังกล่าวในข้อ 2-8
  14. บุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการหรือภายใต้พันธกรณีระหว่างประเทศ หรือภายใต้สถานการณ์พิเศษที่มีความจำเป็น หรือเผยแพร่ชื่อเสียงเกียรติคุณของประเทศไทย

4. หนังสือเดินทางชั่วคราว (หน้าปกสีเขียว) นอกจากนี้ ยังมีอีก 2 ประเภทพิเศษ คือ

  1. หนังสือเดินทางพระ ออกให้สำหรับพระภิกษุและสามเณรที่ได้รับอนุญาตให้เดินทางไปต่างประเทศตามนัยระเบียบมหาเถรสมาคม
  2. หนังสือเดินทางเพื่อไปประกอบพิธีฮัจญ์ ออกให้ชาวมุสลิมที่เพื่อเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ หนังสือเดินทางประเภทนี้จะมีอายุ 2 ปีเท่านั้น

ขั้นตอนการยื่นขอ ทำหนังสือเดินทางใหม่

ขั้นตอนที่ 1 รับบัตรคิว

ขั้นตอนที่ 2 ยื่นบัตรประจำตัวประชาชนที่มีเลข 13 หลักหากไม่มีเลข 13 หลัก ต้องนำสำเนาทะเบียนบ้านมาแสดงพร้อมเอกสารหลักฐานอื่นๆ เพื่อตรวจสอบข้อมูล

ขั้นตอนที่ 3

  • เก็บข้อมูลชีวภาพ (วัดส่วนสูง เก็บลายพิมพ์นิ้วมือนิ้วชี้ขวาและนิ้วชี้ซ้ายด้วยเครื่องสแกนข้างละ 2 ครั้ง และถ่ายรูป 2 ครั้ง)
  • แจ้งความประสงค์ขอรับ ว่าจะรับเล่มทางไปรษณีย์ หรือว่าจะมารับเอง

ขั้นตอนที่ 4 ชำระค่าธรรมเนียม 1,000 บาท และค่าส่งไปรษณีย์ (40 บาท) รับใบเสร็จรับเงิน และรับใบนัดรับเล่มท่านจะได้รับหนังสือเดินทาง ดังนี้

  • หากยื่นที่กรมการกงสุล ผู้ร้องสามารถรับหนังสือเดินทางได้ 2 วันทำการไม่นับวันยื่นคำร้อง หากรับทางไปรษณีย์จะได้รับใน 5 วันทำการ
  • หากยื่นที่สำนักงานสาขาในกรุงเทพฯ ผู้ร้องจะได้รับเล่มภายใน 3 วันทำการไม่นับวันยื่นคำร้อง หากรับทางไปรษณีย์จะได้รับใน 5 วันทำการ
  • กรณียื่นคำร้องที่สำนักงานสาขาในต่างจังหวัดและขอให้จัดส่งทางไปรษณีย์ผู้ร้อง (ในเขตเมือง) จะได้รับหนังสือเดินทางภายใน 5 วันทำการ หากยื่นที่กรมการกงสุล ผู้ร้องสามารถรับหนังสือเดินทางได้ 2 วันทำการไม่นับวันยื่นคำร้อง

การให้ผู้อื่นรับหนังสือเดินทางแทน

สำหรับใครที่แจ้งความประสงค์ว่าจะมารับพาสปอร์ตด้วยตัวเอง แต่พอถึงเวลาเกิดไปไม่ได้ จะให้คนอื่นไปรับแทน ก็สามารถทำได้ แต่ต้องมีหลักฐานไปด้วย ดังนี้

  • ใบรับหนังสือเดินทาง
  • บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงของผู้ขอหนังสือเดินทาง
  • บัตรประชาชนของผู้รับแทน พร้อมสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับแทน 1 ชุด

จะไปทำพาสปอร์ตที่ไหนได้บ้าง?

กรมการกงสุล แจ้งวัฒนะ

ที่อยู่ 123 ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
โทรศัพท์ 02 203 5000 กด 1 เพื่อติดต่อกรมการกงสุล
หรือ CALL CENTER หมายเลข 02 572 8442

สำนักงานหนังสือเดินทาง ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา

(รับทำเฉพาะหนังสือเดินทางราชการเท่านั้น)

ที่อยู่ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา(อาคารบี ประตูฝั่งทิศตะวันออก)
ชั้น 7 ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
โทรศัพท์ 02 203 5000 ต่อ 49007,49009,49010,49017

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว บางนา-ศรีนครินทร์

ที่อยู่ ศูนย์การค้าธัญญาพาร์ค ศรีนครินทร์ ชั้น 2 โซน E
โทรศัพท์ 02 136 3800, 02 136 3802 และ 093 -0105246 โทรสาร 02 136 3801

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว ปิ่นเกล้า

ที่อยู่ อาคาร SC Plaza สถานีขนส่งกรุงเทพ (สายใต่ใหม่) ถนนบรมราชชนนี
โทรศัพท์ 02 422 3431 โทรสาร 02 422 3432

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว มีนบุรี

ศูนย์การค้าบิ๊กซี สาขาสุวินทวงศ์
ที่อยู่ 29 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กทม. 10510
โทรศัพท์ 02 024 8362-63, 02 024 8365 โทรสาร 02 024 8361

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว MRT คลองเตย

สถานีรถไฟฟ้ามหานคร (MRT) คลองเตย
ที่อยู่ ถนนพระราม 4 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กทม. 10110
โทรศัพท์ 02-024-8896, 093-010-5247 โทรสาร 02-024-8897

สำนักงานหนังสือเดินทาง ศูนย์บริการการไปทำงานต่างประเทศ

(รับทำหนังสือเดินทางเฉพาะผู้ที่มีใบส่งตัวจากกรมการจัดหางานเท่านั้น)
ที่อยู่ อาคารประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ดินแดง กทม.
โทรศัพท์ 0-2245-9439,0-2245-1042 โทรสาร 0-2245-9438

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว เชียงใหม่

ที่อยู่ ศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่ ถนนโชตนา ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ 50000
โทรศัพท์ 053-112-291-2 โทรสาร 053-112-293

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว เชียงราย

ที่อยู่ อาคารองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)หลังใหม่ ถนนศูนย์ราชการ ตำบลริมกก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย 57100
โทรศัพท์ 053-175375 โทรสาร 053-175374

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว พิษณุโลก

ที่อยู่ ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก ถนนเทพารักษ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000
โทร 055-258-173, 055-258-155, 055-258-131, โทรสาร 055-258-117

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว นครสวรรค์

ที่อยู่ ศูนย์บริการร่วมจังหวัดนครสวรรค์ ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี ถนนพหลโยธิน อำเภอเมือง
จังหวัดนครสวรรค์ 60000
โทรศัพท์ 056-233-453, 056-233-454 โทรสาร056-233-452

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว อุดรธานี

ที่อยู่ศูนย์อเนกประสงค์ ศาลากลางจังหวัดอุดรธานี(ตรงข้ามกับศาลหลักเมือง)
ถนนอธิบดี อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี 41000
โทร 042-212827, 042-212-318 โทรสาร 042-222-810

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว ขอนแก่น

ที่อยู่ หอประชุมอำเภอเมืองขอนแก่น ถนนศูนย์ราชการ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40000
โทรศัพท์ 0-4324-2655 โทรสาร 0-4324-3441

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว อุบลราชธานี

ที่อยู่อาคารศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี ชั้น 1 ด้านหลังฝั่งทิศตะวันตก
จังหวัดอุบลราชธานี 34000
โทรศัพท์ 045-344581-2 โทรสาร 045-344646
E-mail : passport_ubon@hotmail.com

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว นครราชสีมา

ที่อยู่ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา ถนนมหาดไทยอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 30000
โทร 044-243-132, 044-243-124 โทรสาร 044-243-133

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จันทบุรี

ที่อยู่ อาคารลานค้าชุมชน ถ.เลียบเนิน ต.วัดใหม่ อ.เมือง จ.จันทบุรี 22000
โทรศัพท์ 039-301-706-9 โทรสาร 039-301-707

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว สุราษฎร์ธานี

ที่อยู่ศาลาประชาคม ถนนหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84000
โทรศัพท์ 077-274940,077-274942-3 โทรสาร 077-274941

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว ภูเก็ต แผนที่

ที่อยู่ ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต ถนนนริศร อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต 83000
โทรศัพท์ 076-222-080, 076-222-081, 076-222-083 โทรสาร 076-222-082

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว สงขลา

ที่อยู่ ศูนย์ราชการจังหวัดสงขลา อำเภอเมือง จ.สงขลา 90000
โทรศัพท์ 074-326-510 โทรสาร 074-326511

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว ยะลา

ที่อยู่ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.)
ถนนสุขยางค์ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา 95000
โทรศัพท์ 073-274-526, 073-274-036, 073-274-037
โทรสาร 073-274-527

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว พัทยา

ที่อยู่ ศูนย์การค้าพัทยาอเวนิืว ชั้น 1 ถนนพัทยาสาย 2
เลขที่ 399/9 หมู่ 10 ถนนพัทยาสาย 2 ตำบลหนองปรือ
อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี 20150
โทรศัพท์ 038-422438 โทรสาร 038-422437